กล่องข้อความ:
บริเวณที่พบ : หน้าโรงเรียน , สนามหน้าอาคารวัฒนา
ชื่ออื่น : ตะโกสวน พลับ มะพลับใหญ่
ลักษณะพิเศษของพืช : ต้นไม้ยืนต้น
ลักษณะทั่วไป
ลำต้น : ต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8 - 15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาปนดำเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ
ตามยาว เปลือกในสีน้ำตาลปนแดงอ่อน เรือนยอดรูปทรงกลมทึบ
ใบ : ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 - 8 เซนติเมตร ยาว 10 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลมทู่โคนใบมน
ปลายใบแหลมทู่ ๆ หรือมน 
ดอก : ดอกเล็กสีขาวหรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ   
ผล : ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 5 เซนติเมตร ผลแก่ค่อนข้างเละ แรกๆ มีขนยาวคลุมเมล็ด ถ้าตัดตามขวางจะเห็นว่า
ระหว่างเปลือกนอกกับเนื้อขาว ๆ ข้างในนั้นไม่เรียบก้านผลยาว 2 - 10 มิลลิเมตร แต่ถ้าสุกแล้วสามารถกินได้
ประโยชน์
      เปลือกต้น
ต้มดื่ม แก้บิด แก้ท้องร่วง สมานแผล บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับผายลม ย่างให้กรอบแก้กามตายด้าน
      เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องกลึงและแกะสลัก
      เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ต้มรับประทานแก้บิด แก้ท้องร่วง เป็นยาสมานแผลและห้ามเลือด
      ผลดิบให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า แหและอวน
      ผลแก่รับประทานได้
ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น

7-50100-001-118

ชื่อพื้นเมือง

:  มะพลับ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Diospyros malabarica (Desr) Kostel. var. siamensis   
(Hochr.) Phengklai

ชื่อวงศ์

:  EBENACEAE

ชื่อสามัญ

:  -

ประโยชน์

:เปลือกต้น ต้มดื่ม แก้บิด แก้ท้องร่วง สมานแผล
บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับผายลม ย่างให้กรอบ
แก้กามตายด้าน

ใบ
ผล

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้     มะพลับ     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-118